ความขัดแย้งระหว่างรัฐ ทุน และท้องถิ่น : ศึกษาจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ บริเวณตำบลเกาะเพชร และตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช / ขจรจบ กุสุมาวลี.

By: ขจรจบ กุสุมาวลีCall Number: วจ 333.917 ข133ค 2547 Material type: BookBookPublisher: กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2547Description: 114 หน้า : แผนที่ ; 26 ซมISBN: 9749666151 :Subject(s): โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ | ความขัดแย้งทางสังคม -- ไทย -- ปากพนัง (นครศรีธรรมราช) | ปากพนัง (นครศรีธรรมราช) | ลุ่มน้ำปากพนัง -- ภาวะเศรษฐกิจ | ลุ่มน้ำปากพนัง -- ภาวะสังคมSummary: บทคัดย่อ : งานวิจัย เรื่อง "ความขัดแย้งระหว่างรัฐ ทุน และท้องถิ่น : ศึกษาจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ บริเวณตำบลเกาะเพชร และตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช" เป็นการสึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และท้องถิ่น บนความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงมิติประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อทำความเข้าใจ "ท้องถิ่น" ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในบริบทที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากลุ่มน้ำปากพนังในอดีตถือว่าเป็นพื้นที่ที่รุ่งเรืองในทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก โดยมีพื้นฐานมาจากการผลิตและการค้าขายข้าวเป็นสำคัญ แต่หลังจากนั้น ในช่วงทศวรรษ 2520 กลับกลายเป็นว่า ลุ่มน้ำปากพนังกลับถูกจัดให้กลายเป็นพื้นที่ยากจนแหล่งหนึ่งของประเทศที่ต้องมีการพัฒนา โครงการพัฒนาต่าง ๆ พยายามเข้ามาส่งเสริมในลุ่มน้ำปากพนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาตใต้สถานการณ์ในปัจุจบัน โครงการพัฒนาพื้นที่ล่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กำลังแปรเปลี่ยนสภาพแวดล้อมโดยฌฉพาะเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำทรัพยากรที่เป็นรากฐานของการเกษตรกรรมและของวิถีชีวิตผู้คนในบริเวณนี้ บริเวณที่ศึกษานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันกว้างใหญ่ โดยได้เลือกศึกษาในบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างโซนน้ำจืดกับโซนน้ำเค็ม การแบ่งโซนเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำหากพนังฯ การแบ่างโซนแม้เป็นเพียงเส้นสมมุติเพื่อแบ่งแยกการผลิตระหว่างเกษตรกรรมและการประมง (การเลี้ยงกุ้ง) ออกจากกัน แต่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมขึ้นจริง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสภาพแวดล้อมและภูมิความรู้ของท้องถิ่นที่มีต่อสภาพแวดล้อมรัฐกลับไม่ได้ให้ความสำคัญ มุ่งแต่การพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการผลิตเป็นสำคัญ ไม่เพียงแต่สถานการณ์ของท้องถิ่นต้องเผชิญกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจากรัฐ แต่ในอีกดานหนึ่งมิติความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจกับทุน พื้นที่บริเวณนี้เป็นนากุ้ง การทำนากุ้งได้พลิกฟื้นท้องถิ่นที่เคยประสบแต่การขาดทุนจากการทำนาข้าวมาสู่รายได้จำนวนมหาศาลที่ตลอดชีวิตการทำนาไม่เคยพบเห็น แต่ ณ วันนี้ สถานการณฺ์ของการเลื้ยงกุ้งแปรเปลี่ยนไปท้องถิ่นต้องประสบกับภาวะการขาดทุนเนื่องจากราคากุ้งตกต่ำ ชาวบ้านเอก็ยากจะถอนตัวจากการทำนากุ้งเนื่องจากภาระหนี้สินที่ผูกพัน ด้วยเหตุนี้ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจรัฐและทุนต่างเข้ามาครอบงำและสร้างทางเลือกที่จำกัดให้กับท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ผู้คนในท้องถิ่นต่างพยายามปรับตัว เลือกสรรวิธีการ และแสวงหาทางออกให้กับตนเองตามเงื่อนไขและความสามารถที่มีอยู่ เพื่อต่อสู้ดิ้นรนให้ดำรงอยู่รอดภายใต้โครงสร้างแห่งอำนาจที่เป็นอยู่
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research สำนักวิทยบริการ (Center)
ชั้น 7 หนังสือรายงานการวิจัย
วจ 333.917 ข133ค 2547 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000023341
Thesis/Research Thesis/Research สำนักวิทยบริการ (Center)
ชั้น 7 หนังสือรายงานการวิจัย
วจ 333.917 ข133ค 2547 (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000023342
Reference Books Reference Books สำนักวิทยบริการ (Center)
ชั้น 5 มุมหนังสือพิเศษ
วจ 333.917 ข133ค 2547 (Browse shelf(Opens below)) 3 Not for Loan 1000151706
Browsing สำนักวิทยบริการ (Center) shelves, Shelving location: ชั้น 5 มุมหนังสือพิเศษ Close shelf browser (Hides shelf browser)
No cover image available
No cover image available
No cover image available
No cover image available
วจ 306.07 ส677 2551 สาระสำคัญงานวิจัยวัฒนธรรม เล่ม 2 ประจำปี 2524-2548 / วจ 320.9593 ช224ม 2557 มหากาพย์ นาฏลีลา พลังมวลมหาประชาชน / วจ 333.79 ส691ฟ 2551 Foresight research โดยการสังเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์จากผลงานวิจัย : วจ 333.917 ข133ค 2547 ความขัดแย้งระหว่างรัฐ ทุน และท้องถิ่น : วจ 351.593 จ636ก 2536 การวิจัยบทบาทของระบบสารนิทเศทางวิชาการแห่งชาติที่มีผลต่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จังหวัดกาญจนบุรี / วจ 352.13 ก522 2540 การศึกษาวิจัย : วจ 352.1409593 ป524ช 2537 ชนชั้นนำ โครงสร้างอำนาจชุมชน บทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา :

บทคัดย่อ : งานวิจัย เรื่อง "ความขัดแย้งระหว่างรัฐ ทุน และท้องถิ่น : ศึกษาจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ บริเวณตำบลเกาะเพชร และตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช" เป็นการสึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุน และท้องถิ่น บนความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงมิติประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อทำความเข้าใจ "ท้องถิ่น" ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในบริบทที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากลุ่มน้ำปากพนังในอดีตถือว่าเป็นพื้นที่ที่รุ่งเรืองในทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก โดยมีพื้นฐานมาจากการผลิตและการค้าขายข้าวเป็นสำคัญ แต่หลังจากนั้น ในช่วงทศวรรษ 2520 กลับกลายเป็นว่า ลุ่มน้ำปากพนังกลับถูกจัดให้กลายเป็นพื้นที่ยากจนแหล่งหนึ่งของประเทศที่ต้องมีการพัฒนา โครงการพัฒนาต่าง ๆ พยายามเข้ามาส่งเสริมในลุ่มน้ำปากพนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาตใต้สถานการณ์ในปัจุจบัน โครงการพัฒนาพื้นที่ล่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กำลังแปรเปลี่ยนสภาพแวดล้อมโดยฌฉพาะเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำทรัพยากรที่เป็นรากฐานของการเกษตรกรรมและของวิถีชีวิตผู้คนในบริเวณนี้ บริเวณที่ศึกษานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันกว้างใหญ่ โดยได้เลือกศึกษาในบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างโซนน้ำจืดกับโซนน้ำเค็ม การแบ่งโซนเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำหากพนังฯ การแบ่างโซนแม้เป็นเพียงเส้นสมมุติเพื่อแบ่งแยกการผลิตระหว่างเกษตรกรรมและการประมง (การเลี้ยงกุ้ง) ออกจากกัน แต่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมขึ้นจริง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับสภาพแวดล้อมและภูมิความรู้ของท้องถิ่นที่มีต่อสภาพแวดล้อมรัฐกลับไม่ได้ให้ความสำคัญ มุ่งแต่การพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการผลิตเป็นสำคัญ ไม่เพียงแต่สถานการณ์ของท้องถิ่นต้องเผชิญกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจากรัฐ แต่ในอีกดานหนึ่งมิติความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจกับทุน พื้นที่บริเวณนี้เป็นนากุ้ง การทำนากุ้งได้พลิกฟื้นท้องถิ่นที่เคยประสบแต่การขาดทุนจากการทำนาข้าวมาสู่รายได้จำนวนมหาศาลที่ตลอดชีวิตการทำนาไม่เคยพบเห็น แต่ ณ วันนี้ สถานการณฺ์ของการเลื้ยงกุ้งแปรเปลี่ยนไปท้องถิ่นต้องประสบกับภาวะการขาดทุนเนื่องจากราคากุ้งตกต่ำ ชาวบ้านเอก็ยากจะถอนตัวจากการทำนากุ้งเนื่องจากภาระหนี้สินที่ผูกพัน ด้วยเหตุนี้ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจรัฐและทุนต่างเข้ามาครอบงำและสร้างทางเลือกที่จำกัดให้กับท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ผู้คนในท้องถิ่นต่างพยายามปรับตัว เลือกสรรวิธีการ และแสวงหาทางออกให้กับตนเองตามเงื่อนไขและความสามารถที่มีอยู่ เพื่อต่อสู้ดิ้นรนให้ดำรงอยู่รอดภายใต้โครงสร้างแห่งอำนาจที่เป็นอยู่

There are no comments on this title.

to post a comment.