งานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2542 / ลินดา เกณฑ์มา.

By: ลินดา เกณฑ์มาCall Number: วจ 305.235 ล438ง 2546 Material type: BookBookPublisher: กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2546Description: [10], 329 หน้า ; 30 ซมOther title: การวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่นSubject(s): วัยรุ่น -- ปัญหา | นวนิยายไทย -- ประวัติและวิจารณ์ | วัยรุ่น -- ทัศนคติ | วัยรุ่น -- ไทย -- พฤติกรรม | วัยรุ่น -- วิจัยScope and content: บทคัดย่อ : งานวิจัยฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่น ระหว่างปี พ.ศ.2532-2542 โดยเน้นศึกษาถึงทัศนะเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาวัยรุ่นที่ปรากฎในนวนิยาย และกลวิธีการนำเสนอทัศนะดังกล่าวจากนวนิยายจำนวนทั้งสิ้น 22 เรื่อง ; ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ผู้ประพันธ์ได้เสนอทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นที่สำคัญไว้อย่างเด่นชัด 4 ประการ เรื่อง ปัญหายาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย ปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร ผิดกฎหมาย ผู้ประพันธ์ได้สะท้อนถึงสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ว่าเกิดจากอิพทธิพลของครอบครัวที่อบรมเลี้ยงดูบุตรอย่างผิดพลาดประกอบกับสัมพันธภาพที่ไม่ปกติสุขของครอบครัวในลักษณะต่าง ๆ จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต และเป็นเหตุให้เด็กมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานของสังคมได้ นอกจากนี้ ลักษณะอุปนิสัยส่วนตัวของวัยรุ่นที่ชอบความรุนแรง มีอารมณ์ปรวนแปรอ่อนไหวง่าย และชอบต่อต้านกฎระเบียบที่เข้มงวดต่าง ๆ รวมจนถึงสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นแรงผลักดันให้ปัญหาวัยรุ่นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ; ผู้ประพันธ์ได้เสนอว่า การแก้ไขต้องเริ่มที่ครอบครัว โดยบิดาต้องให้ความรักความเอใจใส่อย่างเพียงพอ การเลื้ยงดูควรยึดทางสายกลาง และเน้นความสำคัญทางด้านจิตใจมากกว่าด้านวัตถุ การตั้งความคาดหวังกับสมาชิกให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ส่วนปัญหาที่เกิดจากอุปนิสัยส่วนตัว ผู้ประพันธ์เสนอว่าเสนอว่าทุกคนในครอบครัวต้องพยายามยอมรับ และแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น รู้จักฝึกใจตนให้แข็งแกร่ง อดทนกล้าเผชิญหน้ากับปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้น และหาทางระบายความเครียดด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ในขณะเดียวกันทุกองค์กรในสังคมต้องหันมาร่วมมือเพื่อช่วยกันแก้ไขสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ขึ้น ถ้าทำได้เช่นนี้ปัญหาวัยรุ่นก็จะลดความรุนแรงได้ (มีต่อ)Summary: ด้านกลวิธีการนำเสนอทัศนะเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่น พบว่า ผู้ประพันธ์นิยมตั้งชื่อเรื่องให้แปลกและเร้าความสนใจจากผู้อ่าน เพื่อมุ่งเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่จะตั้งชื่อโดยนำสัญลักษณ์มาเปรียบกับพฤติกรรมของตัวละคร หรือสภาวการณ์ที่ผิดปกติในเนื้อเรื่องตั้งชื่อเรื่องโดยใช้คำหรือข้อความเพื่อสรุปบรรยากาศ ฉาก หรือสภาพแวดล้อมในเรื่อง นอกจากนี้จะตั้งชื่อเรื่องจากลักษณะเด่นของวัยรุ่น และตั้งชื่อเรื่องโดยใช้ข้อความที่ยาวเพื่อสรุปแนวเนื้อหาของเรื่องตามลำดับ ส่วนการสร้างโครงเรื่องให้เอื้อต่การนำเสนอแนวคิดนั้น ผู้ประพันธ์จะนิยมใช้การสร้างความขัดแย้งระหว่างตัวละคร ตัวละครกับสังคม และความขัดแย้งภายในใจของตัวละคร มีการผูกโครงเรื่องย่อยเพื่อเสริมแนวคิด และการจบเรื่องนิยมจบแบบโศกนาฏกรรมเพื่อสร้างอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่าน ผู้ประพันธ์จะสร้างตัวละครให้เป็นตัวแทนของบุคคลต่าง ๆ เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นผ่านบทสนทนาดังกล่าว นอกจากนี้ได้เสนอทัศนะผ่านการเล่าเรื่องในมุมมองของผู้แต่ง หรือเรียกว่าทัศนะแบบรู้แจ้ง นำเสนอทัศนะผ่านสายตาของตัวละครสำคัญในเรื่องหรือทัศนะแบบบุรุษที่ 1 และเสนอทัศนะแบบกระแสสำนึกของตัวละครตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาวัยรุ่น ตลอดจนได้มองบทบาทของวรรณกรรมประเภทนวนิยายในแง่ของการเป็นสื่อกลางถ่ายทอดปัญหาสังคมมายังผู้อ่าน.
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research สำนักวิทยบริการ (Center)
ชั้น 7 หนังสือรายงานการวิจัย
วจ 305.235 ล438ง 2546 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000004519
Thesis/Research Thesis/Research สำนักวิทยบริการ (Center)
ชั้น 7 หนังสือรายงานการวิจัย
วจ 305.235 ล438ง 2546 (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000004520
Browsing สำนักวิทยบริการ (Center) shelves, Shelving location: ชั้น 7 หนังสือรายงานการวิจัย Close shelf browser (Hides shelf browser)
No cover image available
No cover image available
No cover image available
No cover image available
No cover image available
วจ 305.231 ป833ร 2533 รายงานการวิจัย เรื่อง การประเมินผลกิจกรรมพัฒนาเด็กโดยครอบครัวและองค์กรสตรี : ระยะสิ้นสุดกิจกรรม / วจ 305.231 ร451 2535 รายงานการวิจัย เรื่อง ผลการดำเนินกิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่กรุงเทพมหานครให้การสนับสนุน : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างศูรน์ที่ตั้งอยู่ในชุมชนแออัดกับชุมชนเมือง / วจ 305.235 น316พ 2551 พฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกันในนักเรียนวัยรุ่นไทยและญี่ปุ่น = วจ 305.235 ล438ง 2546 งานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2542 / วจ 305.235 ล438ง 2546 งานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2532-2542 / วจ 305.2355 บ891 2551 แบบแผนและแนวโน้มการอยู่อาศัยของวัยรุ่น การวิเคราะห์ข้อมูลสำมะโนประชากร พ.ศ. 2513-2543 = วจ 305.244 ป231 2551 ประชากรวัยกลางคนการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุ ที่มีคุณภาพในสังคมผู้สูงอายุใน 10-20 ปี ข้างหน้า /

บทคัดย่อ : งานวิจัยฉบับนี้มุ่งวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับวัยรุ่นในนวนิยายสะท้อนปัญหาวัยรุ่น ระหว่างปี พ.ศ.2532-2542 โดยเน้นศึกษาถึงทัศนะเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาวัยรุ่นที่ปรากฎในนวนิยาย และกลวิธีการนำเสนอทัศนะดังกล่าวจากนวนิยายจำนวนทั้งสิ้น 22 เรื่อง ; ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ผู้ประพันธ์ได้เสนอทัศนะเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นที่สำคัญไว้อย่างเด่นชัด 4 ประการ เรื่อง ปัญหายาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตาย ปัญหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร ผิดกฎหมาย ผู้ประพันธ์ได้สะท้อนถึงสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ว่าเกิดจากอิพทธิพลของครอบครัวที่อบรมเลี้ยงดูบุตรอย่างผิดพลาดประกอบกับสัมพันธภาพที่ไม่ปกติสุขของครอบครัวในลักษณะต่าง ๆ จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต และเป็นเหตุให้เด็กมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานของสังคมได้ นอกจากนี้ ลักษณะอุปนิสัยส่วนตัวของวัยรุ่นที่ชอบความรุนแรง มีอารมณ์ปรวนแปรอ่อนไหวง่าย และชอบต่อต้านกฎระเบียบที่เข้มงวดต่าง ๆ รวมจนถึงสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นแรงผลักดันให้ปัญหาวัยรุ่นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ; ผู้ประพันธ์ได้เสนอว่า การแก้ไขต้องเริ่มที่ครอบครัว โดยบิดาต้องให้ความรักความเอใจใส่อย่างเพียงพอ การเลื้ยงดูควรยึดทางสายกลาง และเน้นความสำคัญทางด้านจิตใจมากกว่าด้านวัตถุ การตั้งความคาดหวังกับสมาชิกให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง ส่วนปัญหาที่เกิดจากอุปนิสัยส่วนตัว ผู้ประพันธ์เสนอว่าเสนอว่าทุกคนในครอบครัวต้องพยายามยอมรับ และแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น รู้จักฝึกใจตนให้แข็งแกร่ง อดทนกล้าเผชิญหน้ากับปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้น และหาทางระบายความเครียดด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ในขณะเดียวกันทุกองค์กรในสังคมต้องหันมาร่วมมือเพื่อช่วยกันแก้ไขสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ขึ้น ถ้าทำได้เช่นนี้ปัญหาวัยรุ่นก็จะลดความรุนแรงได้ (มีต่อ)

ด้านกลวิธีการนำเสนอทัศนะเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่น พบว่า ผู้ประพันธ์นิยมตั้งชื่อเรื่องให้แปลกและเร้าความสนใจจากผู้อ่าน เพื่อมุ่งเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่จะตั้งชื่อโดยนำสัญลักษณ์มาเปรียบกับพฤติกรรมของตัวละคร หรือสภาวการณ์ที่ผิดปกติในเนื้อเรื่องตั้งชื่อเรื่องโดยใช้คำหรือข้อความเพื่อสรุปบรรยากาศ ฉาก หรือสภาพแวดล้อมในเรื่อง นอกจากนี้จะตั้งชื่อเรื่องจากลักษณะเด่นของวัยรุ่น และตั้งชื่อเรื่องโดยใช้ข้อความที่ยาวเพื่อสรุปแนวเนื้อหาของเรื่องตามลำดับ ส่วนการสร้างโครงเรื่องให้เอื้อต่การนำเสนอแนวคิดนั้น ผู้ประพันธ์จะนิยมใช้การสร้างความขัดแย้งระหว่างตัวละคร ตัวละครกับสังคม และความขัดแย้งภายในใจของตัวละคร มีการผูกโครงเรื่องย่อยเพื่อเสริมแนวคิด และการจบเรื่องนิยมจบแบบโศกนาฏกรรมเพื่อสร้างอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่าน ผู้ประพันธ์จะสร้างตัวละครให้เป็นตัวแทนของบุคคลต่าง ๆ เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่นผ่านบทสนทนาดังกล่าว นอกจากนี้ได้เสนอทัศนะผ่านการเล่าเรื่องในมุมมองของผู้แต่ง หรือเรียกว่าทัศนะแบบรู้แจ้ง นำเสนอทัศนะผ่านสายตาของตัวละครสำคัญในเรื่องหรือทัศนะแบบบุรุษที่ 1 และเสนอทัศนะแบบกระแสสำนึกของตัวละครตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาวัยรุ่น ตลอดจนได้มองบทบาทของวรรณกรรมประเภทนวนิยายในแง่ของการเป็นสื่อกลางถ่ายทอดปัญหาสังคมมายังผู้อ่าน.

There are no comments on this title.

to post a comment.