สามเกลอ ชุด วัยหนุ่ม เล่ม 4 / ป.อินทรปาลิต
Call Number: น ป112ส 2563 ล.4 Material type:![Book](/opac-tmpl/lib/famfamfam/BK.png)
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Notes | Date due | Barcode |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
สำนักวิทยบริการ (Center) ชั้น 6 หนังสือนวนิยาย | Fiction | น ป112ส 2563 ล.4 (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 4 | 3000026341 | |
![]() |
สำนักวิทยบริการ (Center) ชั้น 6 หนังสือนวนิยาย | Fiction | น ป112ส 2563 ล.4 (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 4 | 3000026342 |
สามเกลอ ชุดวัยหนุ่ม เล่ม 4 ประกอบด้วย 2 ตอนด้วยกัน เริ่มจากตอน อยากเป็นพระเอก นายเป็งกุ่ย ผู้อำนวยการภาพยนตร์พูด "จีนฟิล์ม" ตรา "ช้างขี่ลิง" ได้รับจดหมายขู่จากสมาคมลับ "จั๊บปียเฮียบ" ให้เลิกกิจการและส่งเงินไปช่วยเหลือเมืองจีนด่วน ด้วยโรงภาพยนตร์อยู่ในที่ดินของเจ้าคุณวิจิตรบรรณาการจึงไปขอร้องให้ท่านซื้อกิจการไว้ ทีแรกเจ้าคุณฯ ไม่ยอมแต่ด้วยความตลบตะแลงของพล นิกร ทำให้เจ้าคุณปัจจนึกฯ กับเจ้าคุณวิจิตรฯ ก็เข้าหุ้นกันซื้อโรงถ่ายภาพยนตร์ ทั้งพล นิกร กิมหงวนตั้งใจจะหาชื่อเสียงในทางภาพยนตร์ให้ได้ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สามสหายภาพยนตร์" ตราลิงสามหัว เรื่องแรกที่ทำคือ "ปราบนักเลงโตด้วยหมัดลุ่นๆ" โดย พ.พัชราภรณ์ เป็นพระเอก หลังจากนั้นความโกลาหล วุ่นวายก็เกิดขึ้น แต่ด้วยความพยายามของทุกคนภาพยนตร์เรื่องแรกก็สำเร็จพร้อมออกฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง แต่ทั้งหมดก็ยังต้องพบอุปสรรคเมื่อ กิมหงวนได้รับจดหมายขู่จากสมาคมลับเช่นเดียวกับเป็งกุ่ย แต่สามสหายก็วางแผนที่จะกำจัดสมาคมนี้ให้ได้ ตอน ปราบสมาคมลับ หลังจากที่กิมหงวนได้รับโทรศัพท์จากนวลละออผู้เป็นภรรยาว่ามีเจ๊ก 3 คนไม่น่าไว้วางใจมาหาที่ห้างศิวิไลซ์ สามหนุ่มก็รีบไปที่ห้างฯ และพบว่าเป็นการเข้าใจผิดกันนั่นเอง ทั้งสามพยายามคิดหาวิธีปราบสมาคมลับให้ได้ โดนจะมีวิธีปราบแบบกะล่อน มีเล่ห์กล ออกอุบายแบบไหน เชิญนักอ่านมาสนุกกับความกวน ฮา สุดแสบของ พล นิกร กิมหงวน ในชุดวัยหนุ่ม เล่ม 4
Comment by กัญญา จันสะบาน
19/07/2021เนื้อเรื่องที่สนุกกลมกล่อมและอมตะที่สุดคือตอนกลุ่มที่เราเรียกกันว่า "ชุดวัยหนุ่ม" ที่มีช่วงเวลาของเนื้อเรื่องตั้งแต่เริ่มต้นในตอน "อายผู้หญิง" จนถึงเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้นในภูมิภาคเอเซียบูรพาในปลายปี 2484 ได้รับการยกย่องว่าเป็น หนังสือหนึ่งในร้อยเล่มที่คนไทยควรได้อ่าน เป็น "ประวัติศาสตร์มีชีวิต" และเป็น "ประวัติศาสตร์เชิงความรู้สึก" ของผู้คนในยุคสมัยที่น่าสนใจที่สุดในห้วงประวัติศาสตร์ไทย