อิเหนา / สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานครสวรรค์วรพินิต

By: นครสวรรค์วรพินิต, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาCall number: 895.912 น127อ 2563 Material type: BookBookPublisher: นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2563Description: 221 หน้า ; 22 ซมISBN: 9786164370968 :Subject(s): อิเหนาDDC classification: 895.912 น127อ 2563 Online resources: ดูปกและสารบัญ (see cover and contents) Summary: "อิเหนา" รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "นิทานปันหยี" มีต้นกำเนิดมาจากชวา เล่าถึงเรื่องราวและวีรกรรมของกษัตริย์ชวาโบราณ ผสมปนเปเข้ากับเรื่องความรัก ความผิดหวัง การศึกสงคราม และอีกหลายอรรถรส ปรากฏในรูปของวรรณคดีที่แพร่หลายมายาวนานในดินแดนชวาและมลายู สันนิษฐานกันว่า "อิเหนา" หรือ "นิทานปันหยี" แพร่เข้ามาในแผ่นดินไทยเมื่อครั้งสมัยปลายอยุธยา โดยเชื่อกันว่า พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล และเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ ทรงได้นางข้าหลวงมาจากปัตตานี นางข้าหลวงคนนี้ได้เล่านิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนาของชวาถวาย เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนำเค้าเรื่องมาแต่งเป็นบทละครเรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่) ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงแต่งเรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก) ทำให้ "นิทานปันหยี" ในประเทศไทยมี 2 เรื่อง นับแต่นั้นมา "ปันหยี สะมิหรัง" ที่แปลนี้ ต้นฉบับเก่าเป็นหนังสือภาษาชวา เก็บไว้ที่ห้องสมุดของสมาคมศิลปวิทยาเมืองปัตตาเวีย ส่วนฉบับที่ได้มาแปลนี้ เป็นภาษามลายู แปลจากต้นฉบับชวานั้นอีกชั้นหนึ่ง คำ "สะมิหรัง" แปลว่า แปลงหรือปลอมตัว คือว่าปันหยีแปลง คำนี้มีอีกนัยหนึ่งว่า "มิสาหรัง" ซึ่งเตือนให้นึกถึงหนังสืออิเหนาของเราซึ่งออกชื่อปันหยีว่า "มิสาระปันหยีสุกาหรา" จะอย่างไรก็ตามเมื่ออ่านไปแล้วย่อมตระหนักว่า มีเค้าที่จะลงรอยกับเรื่องอิเหนาของเรา แต่ในกระบวนชื่อเมือง ชื่อคนและวงศ์วารบ้างเท่านั้น ว่าโดยเนื้อเรื่องแล้วต่างกันมากอยู่ จะเทียบกับอิเหนาใหญ่หรืออิเหนาเล็กก็ไม่ตรงกันทั้งนั้น ส่วนที่แตกต่างกันมากน้อยเพียงไร ให้ผู้อ่านพิจารณาเอง...
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
General Books General Books สำนักวิทยบริการ (Center)
ชั้น 5 หนังสือทั่วไปภาษาไทย 500-900
Non-fiction 895.912 น127อ 2563 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 3000025155
General Books General Books สำนักวิทยบริการ (Center)
ชั้น 5 หนังสือทั่วไปภาษาไทย 500-900
Non-fiction 895.912 น127อ 2563 (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 3000025156

"อิเหนา" รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า "นิทานปันหยี" มีต้นกำเนิดมาจากชวา เล่าถึงเรื่องราวและวีรกรรมของกษัตริย์ชวาโบราณ ผสมปนเปเข้ากับเรื่องความรัก ความผิดหวัง การศึกสงคราม และอีกหลายอรรถรส ปรากฏในรูปของวรรณคดีที่แพร่หลายมายาวนานในดินแดนชวาและมลายู สันนิษฐานกันว่า "อิเหนา" หรือ "นิทานปันหยี" แพร่เข้ามาในแผ่นดินไทยเมื่อครั้งสมัยปลายอยุธยา โดยเชื่อกันว่า พระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล และเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ ทรงได้นางข้าหลวงมาจากปัตตานี นางข้าหลวงคนนี้ได้เล่านิทานปันหยีหรือเรื่องอิเหนาของชวาถวาย เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนำเค้าเรื่องมาแต่งเป็นบทละครเรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่) ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงแต่งเรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก) ทำให้ "นิทานปันหยี" ในประเทศไทยมี 2 เรื่อง นับแต่นั้นมา

"ปันหยี สะมิหรัง" ที่แปลนี้ ต้นฉบับเก่าเป็นหนังสือภาษาชวา เก็บไว้ที่ห้องสมุดของสมาคมศิลปวิทยาเมืองปัตตาเวีย ส่วนฉบับที่ได้มาแปลนี้ เป็นภาษามลายู แปลจากต้นฉบับชวานั้นอีกชั้นหนึ่ง คำ "สะมิหรัง" แปลว่า แปลงหรือปลอมตัว คือว่าปันหยีแปลง คำนี้มีอีกนัยหนึ่งว่า "มิสาหรัง" ซึ่งเตือนให้นึกถึงหนังสืออิเหนาของเราซึ่งออกชื่อปันหยีว่า "มิสาระปันหยีสุกาหรา" จะอย่างไรก็ตามเมื่ออ่านไปแล้วย่อมตระหนักว่า มีเค้าที่จะลงรอยกับเรื่องอิเหนาของเรา แต่ในกระบวนชื่อเมือง ชื่อคนและวงศ์วารบ้างเท่านั้น ว่าโดยเนื้อเรื่องแล้วต่างกันมากอยู่ จะเทียบกับอิเหนาใหญ่หรืออิเหนาเล็กก็ไม่ตรงกันทั้งนั้น ส่วนที่แตกต่างกันมากน้อยเพียงไร ให้ผู้อ่านพิจารณาเอง...

There are no comments on this title.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer