พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน /

ศักดิ์ชัย สายสิงห์

พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน / ศักดิ์ชัย สายสิงห์ - พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงใหม่ - กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2563 - 567 หน้า : ภาพประกอบ (สีบางส่วน) ; 24 ซม.

บรรณานุกรม

งานศิลปกรรมถือเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคม โดยเฉพาะงานศิลปกรรมอันเนื่องในพุทธศาสนา พุทธศิลป์ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายถึงความเป็นมาของงานศิลปกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่เมื่อแรกสถาปนามาจนถึงปัจจุบัน เพื่อลำดับพัฒนาการของงานช่างในแต่ละยุคสมัย อันแสดงให้เห็นถึงรูปแบบศิลปะที่ปรับเปลี่ยนตามแนวความคิดและแรงบันดาลใจ เช่น ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีงานศิลปกรรมที่สืบทอดมาจากงานแบบแผนประเพณีในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่เรียกว่า "แบบไทยประเพณี" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อมีแรงบันดาลใจมาจากศิลปะจีน จึงเกิดงานศิลปกรรมที่เรียกว่า "แบบหพระราชนิยม" ขึ้น ครั้นมาถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อกระแสวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มมีบทบาทมากขึ้นทำให้โลกทัศน์ทางสังคมเปลี่ยนแปลง งานศิลปกรรมจึงมีการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญที่เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า "สัจนิยม" และตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมางานศิลปกรรมจึงพัฒนามาสู่ศิลปะในยุคปัจจุบัน ที่เป็น "ศิลปะร่วมสมัยและศิลปะสมัยใหม่"

9786164650312 : 600


จิตรกรรมพุทธศาสนา
ประติมากรรมพุทธศาสนา
ศิลปกรรมพุทธศาสนา--ไทย
สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา

704.948943 / ศ324พ 2563